วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 3

                                                           แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2 



ข้อที่ 1 ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่
เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกคือสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
เหตุผลผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามถือเป็นฉบับแรกคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนาประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามตามความประสงค์เมื่อวันที่27 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 และประกาศเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 49

ข้อที่ 2 แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
ตอบ หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
    -มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
    -มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร
    -มาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

ข้อที่ 3 เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ
พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ   แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ
พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนกันตรงที่การจัดอบรมชั้นประถมศึกษา ของรัฐและเทศบาล โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน

ข้อที่่ 4 ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 25492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 และประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517 มีความแตกต่างกันตรงที่ ประเด็นที่ 1รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 กล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไม่มากนัก มีมาตราที่เกี่ยวข้อง เพียง 1 หมวด 1 มาตรา โดยกล่าวถึงสิทธิและเสรีภาพ ในการพูด การเขียน การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ อย่างรวมๆ แต่ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517 กล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยละเอียดมากขึ้น โดยเขียนแบ่งออกเป็น 2 หมวด 5 มาตรา แต่ละมาตราจะเขียนกำกับไว้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า บุคคลจะมีสิทธิและเสรีภาพได้แค่เพียงขั้นไหน และยังได้กล่าวถึงนโยบายที่รัฐจะต้องให้การสนับสนุนทางการศึกษาเพิ่มขึ้น

ข้อที่ 5 ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ  เหมือนกันที่ รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอบรมตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศ การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะ สถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่าง ๆบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกากับดูแลของรัฐ ย่อมได้รับการคุ้มครองทั้งนี้ ตามที่กฎหมาย

ข้อที่ 6 เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย
ตอบ เพราะหากรัฐไม่ได้ระบุถึงการจัดการศึกษาที่เป็นธรรมและทั่วถึงแล้ว จะทำให้คนในประเทศเกิดความเหลื่อมล้ำกันทางการศึกษา บุคคลกลุ่มหนึ่งจะได้รับความรู้ความก้าวหน้าในด้านต่างๆ รอบตัวตลอดเวลา แต่บุคคลอีกกลุ่มหนึ่งจะไม่สามารถรับรู้สิ่งต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นได้เลย หากรัฐไม่เข้ามาช่วยเหลือและเปิดโอกาสให้บุคคลเหล่านั้นได้รับการศึกษาอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม

ข้อที่ 7 เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น 
ตอบ  เมื่อกำหนดรัฐธรรมนูญขึ้นมาจะต้องมีหน่วยงานของรัฐและเอกชนมาให้ความช่วยเหลือทางด้านการศึกษาให้ทั่วถึงและความเสมอภาคแก่ปวงประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน หากไม่ปฏิบัติจะเกิดความไม่เสมอภาคความไม่เท่าเทียมกันและขาดการช่วยเหลือทางการศึกษา

ข้อที่ 8 การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ หากมีการเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น จะส่งผลให้คนในประเทศได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกัน และมีความทั่วถึงยิ่งขึ้น เพราะในส่วนของรัฐเอง คงจะไม่สามารถที่จะลงมาให้ความช่วยเหลือกับบุคคลที่อยู่ในส่วนท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่ แต่หากมีการกระจายอำนาจให้คนในพื้นที่ได้ช่วยเหลือดูแลกันในด้านการศึกษาจะทำให้บุคคลที่อยู่ในท้องถิ่นได้รับผลประโยชน์ที่ทั่วถึงมากกว่า

ข้อที่ 9 เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
ตอบ  ความเสมอภาคและการช่วยเหลือที่เท่าเทียมกันและการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสานึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ข้อที่ 10 ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ผลจากการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศคือ ประชาชนได้รับการศึกษา ได้มีความรู้ในการประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้คนในชาติ ได้ทำให้ประชาชนมีการเปิดกว้างทางการศึกษาในการพบบุคคลประเทศเพื่อนบ้านเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ที่มี ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติได้จริงมากยิ่งขึ้น ทำให้ได้รับความรู้เชิงประสบการณ์มากกว่าการศึกษาแต่ภายในห้องเรียน

วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 2

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1 


ข้อที่ 1 ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมาย หากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ  มนุษย์เราต้องมีกฎหมาย เพราะ กฎหมาย คือ คำสั่งบัญชาของรัฎฐาธิปัตย์ ซึ่งบังคับใช้กับกฎหมายทั้งหลาย หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม ผู้นั้นจะต้องรับโทษ ดังนั้น ถ้าบ้านเมืองไม่มีกฎหมาย ประชาชนก็ดำเนินชีวิตแบบตามใจตนเอง คิดจะทำอะไรก็ทำ โดยไม่สนประโยชน์หรือโทษที่ตามมา ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความเดือดร้อนให้แก่ประเทศชาติได้

ข้อที่ 2 ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมาย และจะเป็นอย่างไร
ตอบ ถ้าหากไม่มีกฎหมาย สังคมก็ยังคงดำรงอยู่ได้ แต่ต้องมีปัญหาวุ่นวายตามมาอย่างแน่นอน เพราะ ความสงบสุขจะหายไป เกิดปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นเช่น  การปล้น  การฆ่า การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ก่อให้เกิดความขัดแย้ง มีการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง การแก้แค้นซึ่งกันและกัน การข่มขืนทุกวันมีการแย่งชิงอิทธิพลความเป็นใหญ่ คนที่ทำผิดก็ไม่ต้องรับโทษผู้ที่มีอิทธิพลจะอยู่สบายคอยกดขี่ข่มเหงผู้อื่นเป็นบ้านเมืองป่าเถื่อน 

ข้อที่ 3 ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ตอบ  ก. ความหมาย
              ตอบ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐเป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้นๆจะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
         ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
              ตอบ  1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดอาทิรัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติหัวหน้าคณะปฏิวัติกษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้เช่นรัฐสภาตราพระราชบัญญัติคณะรัฐมนตรีตราพระราชกำหนดพระราชกฤษฎีกาคณะปฏิวัติออกคำสั่งหรือประกาศคณะปฏิวัติชุดต่างๆถือว่าเป็นกฎหมาย
                     2. มีลักษณะเป็นคาสั่งข้อบังคับอันมิใช่คำวิงวอนประกาศหรือแถลงการณ์อาทิประกาศของกระทรวงศึกษาธิการคำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมายสำหรับคำสั่งข้อบังคับที่เป็นกฎหมายเช่นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับพ.ศ. 2545 พระราชกำหนดบริหารราชการฉุกเฉินพ.ศ. 2548 เป็นต้น
                       3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาคเพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้เช่นกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ใช้บังคับกับผู้ที่มีเงินได้แต่ไม่บังคับเด็กที่ยังไม่มีเงินได้การแจ้งคนเกิดภายใน15 วันแจ้งคนตายภายใน 24 ชั่วโมงยื่นแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินเมื่ออายุย่างเข้า 18 ปีเข้ารับการตรวจคัดเลือกเป็นทหารประจำการเมื่ออายุย่างเข้า 21 ปีเป็นต้น
                       4. มีสภาพบังคับซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้นๆกำหนดหากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้และสภาพบังคับในทางอาญาคือโทษที่บุคคลผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษเช่นรอลงอาญาปรับจาคุกกักขังริมทรัพย์แต่หากเป็นคดีแพ่งผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายหรือชำระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทำหรืองดเว้นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามมูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้เช่นบังคับใช้หนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยบังคับให้ผู้ขายส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายเป็นต้น
         ค. ที่มาของกฎหมาย
              ตอบ  1. บทบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นกฎหมายลักษณ์อักษรเช่นกฎหมายประมวลรัษฎากรรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติพระราชกำหนดพระราชกฤษฎีกากฎกระทรวงเทศบัญญัติซึงกฎหมายดังกล่าวผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย
                        2. จารีตประเพณีเป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานานหากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย
                        3. ศาสนาเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุกๆศาสนาสอนให้เป็นคนดีเช่นห้ามลักทรัพย์ห้ามผิดลูกเมียห้ามทำร้ายผู้อื่นกฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
                        4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษาซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการ ตัดสินคดีหลังๆซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทาไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
                       5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้นสมควรหรือไม่จึงทำให้นักนิติศาสตร์อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้
          ง. ประเภทของกฎหมาย
              ตอบ  การแบ่งประเภทกฎหมายที่จะนำไปใช้นั้นมีรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกัน การแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทยขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่วๆไปดังนี้
 ก. กฎหมายภายในมีดังนี้
     1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
         1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรแบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลักโดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมายเช่นรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติ
         1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระ บวนการนิติบัญญัติเช่นจารีตประเพณีหลักกฎหมายทั่วไป
     2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาและกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
         2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18 วรรคแรกบัญญัติโทษทางอาญาเช่นการประหารชีวิตจาคุกกักขังปรับหรือริบทรัพย์สิน
         2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่งได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่างๆกันไว้สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
     3. กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ
         3.1 กฎหมายสารบัญญัติแบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก
         3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติกล่าวถึงวิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ
     4. กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
         4.1 กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนรัฐเป็น ผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคมเป็น เครื่องมือในการควบคุมสังคมคือกฎหมายมหาชนได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดระเบียบ
         4.2 กฎหมายเอกชนเป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเช่นกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์
ข. กฎหมายภายนอกมีดังนี้
     1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐใน การที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน
     2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลเป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลใน รัฐต่างรัฐๆ
     3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญาเป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับ ให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอก ประเทศนั้นได้

ข้อที่ 4 ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมายจงอธิบาย
ตอบ ข้อบังคับที่ใช้ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ในสังคม   เพราะกฎหมายนั้นเกิดขึ้นจากสังคมและเพื่อสังคมไม่อาจมีสังคมไหนจะธำรงอยู่ได้โดยไม่รู้สึกต้องการกฎเกณฑ์สำหรับจัดระเบียบพฤติการณ์ในสังคม มนุษย์จำต้องมีกฎเกณฑ์เพื่อการใช้ชีวิตในประเทศให้มีความสุข การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทำร้ายร่างกาย สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง การแก้แค้นซึ่งกันและกัน ถ้ามีการใช้กำลังกันบ่อยเข้าสังคมมนุษย์จึงไม่อาจดำรงอยู่ได้ ความมีเหตุผลเป็นพื้นฐานที่สังคมมนุษย์พัฒนาการจากสังคมเล็กที่สุด คือครอบครัว ไปสู่สังคมที่ใหญ่ที่สุดคือ รัฐจึงทำให้มนุษย์สร้าง กฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนขึ้น ระบบระเบียบแบบแผนที่มนุษย์สร้างขึ้นใช้เป็นเกณฑ์สร้างความสัมพันธ์เหล่านี้ เป็นแนวทางหรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เป็นแบบแผนเพื่อควบคุมควบความประพฤติสมาชิกในสังคมรวมทั้งเพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม ซึ่งบางเรื่องมีลักษณะไม่คงที่ยาวนาน และบรรทัดฐานที่สำคัญทางสังคมคือ กฎหมาย (Law

ข้อที่ 5  สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ กฏหรือข้อบังคับ บทลงโทษในทางกฏหมายหากผู้นั้นละเมิดกฏหมาย

ข้อที่ 6 สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ  แตกต่างกันด้วยสภาพบังคับ ในกฎหมายแพ่งนั้น มีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง คือ ถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ร่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ก็อาจะถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดเอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล มิฉะนั้นอาจถูกกักขังจนกว่าจะทำตามคำพิพากษาของศาลได้ ส่วนในกฎหมายอาญานั้นมีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง คือ โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด 

ข้อที่ 7 ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ  แบ่งเป็น 2 ระบบดังนี้
         1. ระบบซีวิลลอร์ (CIVIL LAW SYSTEM) หรือระบบลายลักษณ์อักษรเป็นระบบเอามาจาก “JUS CIVILE” ใช้แยกความหมาย “JUS GENTIUM” ของโรมันซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือเป็นกฎหมายลาย ลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่นคำพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมายแต่เป็น บรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้นเริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญจะ ถือเอาคำพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของนักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้
        2. ระบบคอมมอนลอว์ (COMMON LAW SYSTEM) ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคำว่า เอคควิตี้ (EQUITY) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรนำเอาจารีตประเพณีและคำพิพากษาซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเองการวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด

ข้อที่ 8 ประเภทของกฎหมายมีมีกี่ประเภท และหลักการอะไรบ้าง แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง
จงยกตัวอย่าง พร้อมอธิบาย
ตอบ   ประเภทของกฎหมาย ที่จะศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
        1.  ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
        2.  ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
        3. ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน

               1.1  ระบบลายลักษณ์อักษร ( Civil law System ) ประเทศไทยใช้ระบบนี้เป็นหลัก  กระบวนการจัดทำกฎหมายมีขั้นตอนที่เป็นระบบ มีการจดบันทึก มีการกลั่นกรองของฝ่ายนิติบัญญัติคือ รัฐสภา มีการจัดหมวดหมู่กฎหมายของตัวบทและแยกเป็นมาตรา เมื่อผ่านการกลั่นกรองจากรัฐสภาแล้ว จะประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยราชกิจจานุเบกษา กฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
             1.2 ระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณี ( Common Law System) เป็นกฎหมาย   ที่มิได้มีการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีการจัดเป็นหมวดหมู่ และไม่มีมาตรา หากแต่เป็นบันทึกความจำตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใช้กันต่อๆมา ตั้งแต่บรรพบุรุษรวมทั้งบันทึกคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาคดีมาแต่ดั้งเดิม ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณี    หรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ประเทศอังกฤษและประเทศทั้งหลายในเครือจักรภพของอังกฤษ
              2.1  กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล กำหนด ข้อบังคับความประพฤติของบุคคลทั้งในทางแพ่งและในทางอาญา โดยเฉพาะในทางอาญา คือ ประมวลกฎหมายอาญา จะบัญญัติลักษณะการกระทำอย่างใดเป็นความผิดระบุองค์ประกอบความผิดและกำหนดโทษไว้ว่าจะต้องรับโทษอย่างไร และในทางแพ่ง   คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  จะกำหนดสาระสำคัญของบทบัญญัติว่าด้วยนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในฐานะต่าง ๆ ตามกฎหมาย เช่น นิติกรรม หนี้ สัญญา เอกเทศสัญญา เป็นต้น
              2.2  กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงวิธีการปฏิบัติด้วยการนำเอากฎหมายสารบัญญัติไปใช้ไปปฏิบัตินั่นเอง เช่น ไปดำเนินคดีในศาลหรือเรียกว่า  กฎหมายวิธีพิจารณาความก็ได้  กฎหมายวิธีสบัญญัติ    จะกำหนดระเบียบ ระบบ ขั้นตอนในการใช้ เช่น กำหนดอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ต้องหา วิธีการร้องทุกข์ วิธีการสอบสวนวิธีการนำคดีที่มีปัญหาฟ้องต่อศาล วิธีการพิจารณาคดีต่อสู้คดี ในศาลรวมทั้งการบังคับคดีตามคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา    ความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก
             3.1  กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่รัฐตราออกใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชนการบริหารประเทศ รัฐมีฐานะเป็นผู้ปกครองประชาชนด้วยการออกกฎหมายและให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม จึงตรากฎหมายประเภทมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นส่วนรวมทั้งประเทศ และทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีผลกระทบต่อบุคคลของประเทศเป็นส่วนรวม จึงเรียกว่า กฎหมายมหาชน กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายอาญา เป็นต้น
               3.2  กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ด้วยกันเอง เป็นความสัมพันธ์ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา คือ เอกชนด้วยกันเอง รัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม  จึงให้ประชาชนมีอิสระกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกรอบของกฎหมายเพื่อคุ้มครอง       ความเสมอภาคมิให้เอาเปรียบต่อกันจนเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นต่อ 

ข้อที่ 9 ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ   เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจ  กล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน

ข้อที่ 10 เหตุการณ์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชนณลานพระบรมรูปทรงม้าและประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบแต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุมและขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบลงมือทำร้ายร่างกายประชาชนในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
ตอบ    เป็นการกระทำที่ผิด เพราะ ประชาชนมีสิทธิที่จะเรียกร้องสิทธิของตนเองกันทั้งนั้น แต่ถ้ารัฐบาลกระทำรุนแรงกับประชาชนแล้วสิทธิของประชาชนจะตั้งไว้เพื่อทำอะไร เพราะในรัฐธรรมนูญ ระบุอยู่แล้วว่า   
            1. บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                 2. บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
                 3. บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิของตนเอง
                 4. บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ

ข้อที่ 11 ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ค าว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ  กฎหมายการศึกษาคือ บทบัญญัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีกฎหมายการศึกษา ขึ้นที่จะเชื่อมโยงกับกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการศึกษาคือจะเป็นกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับ ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นบังคับกฎหมายเพื่อให้ บุคคลประพฤติปฏิบัติตามไปสู่การพัฒนา คนและสังคมสู่ความเจริญงอกงามธำรงไว้ซึ่งอิสรภาพ เสรีภาพของบุคคลและประเทศชาติ

ข้อที่ 12  ในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษา ท่านคิดว่าเมื่อท่านไปประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไร
ตอบ กฎหมายทางการศึกษา เป็นหัวใจสำคัญในการศึกษา ที่จะทำให้คนมาเป็นครูได้นั้นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ กฎหมาย ว่ามีอะไรบ้าง มีข้อห้าม ข้อควรปฏิบัติอย่างไรทำให้เราได้เข้าใจและนำไปให้ทางการศึกษา การเรียนการสอน ฉะนั้น ถ้าเราไม่รู้กฎหมายทางการศึกษาจะทำให้เกิดผลกระทบหลายด้านไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ การจัดการศึกษาอย่างไรที่จะต้องเป็นไป  เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  และจะต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษานั้นต้องทำอย่างไร  สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่คนเป็นครูจะต้องทราบเพื่อจะได้ส่งเสริมกระบวนการจัดการศึกษาให้ผู้เรียน ได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาก็จะทำให้เราไม่รู้ว่ากฎหมายต่างๆมีอะไรบ้าง

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 1

แนะนำตนเอง
ประวัติส่วนตัว



ชื่อ : นางสาวธัญลักษณ์   ทัฬหกิจ
ชื่อเล่น : ลักษณ์
กำลังศึกษา : คณะครุศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์
รหัสประจำตัวนักศึกษา : 5881103053
ที่อยู่ : 10/1 ม.ต.นบพิตำ อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช
เบอร์โทรศัพท์ : 0808768435
             
              ปรัชญาชีวิต
 อย่ากังวลกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ควรคำนึงกับสิ่งที่กำลังทำ
   การศึกษา
 จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม
 กำลังศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 4
        ทำไมจึงอยากเรียนครู
เป็นวิชาชีพที่น่ายกย่องและเป็นที่ยอมรับและชอบที่จะถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ตนเองถนัดให้ผู้อื่นเข้าใจด้วย
        สิ่งที่อยากทำในอนาคต
 อยากเรียนจบครูคณิตศาสตร์มีงานทำที่มั่นคงและเป็นคนที่ดูแลพ่อแม่และครอบครัวอย่างสุขสบายและมีความสุข
        สิ่งที่ชอบและไม่ชอบ
สิ่งที่ชอบ : ชอบฟังเพลง ชอบท่องเที่ยวและถ่ายรูปภาพ
สิ่งที่ไม่ชอบ : ไม่ชอบคนที่พูดทำร้ายจิตใจคนอื่น

อนุทินที่ 3

                                                            แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2  ข้อที่ 1  ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก...